ตัดภาษี มีเงินออม TaxBugnoms ช่วยได้

เคล็ดลับในการออม และภาษี เพื่ออนาคตที่สดใสของมนุษย์เงินเดือน
หลายๆ ท่านพอเห็นภาษีของแต่ละเดือนก็เหนื่อยใจ

หลายๆ ท่านพอเห็นเงินเก็บในบัญชีก็เศร้าใจ
แล้วเราจะทำอย่างให้เวลาที่เราเห็นทั้งสองสิ่งนี้ แล้วเรายิ้มออกได้
หนังสือเล่มนี้ได้รวมเคล็ดลับดังกล่าวไว้แล้ว
ลับเฉพาะมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น

คำนำ

เมื่อตอนที่ยังเป็นเด็กเล็กๆ เวลามีผู้ใหญ่มาถามคุณว่า “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร” คุณตอบว่าอะไรกันบ้างครับ?

ถ้าให้ผมเดา คนส่วนใหญ่มักจะตอบว่าอยากจะเป็นทหาร ตำรวจ หมอ นักบิน หรืออาชีพอื่นๆ อีกมากมายที่เด็กน้อยคนหนึ่งจะสามารถจินตนาการไปได้ แต่เจ้าเด็กน้อยคนนั้นคงยังไม่รู้หรอกว่า จริงๆ แล้วอาชีพที่เราใฝ่ฝันอยากจะเป็นทั้งหลายกันน่ะ มันก็คืออาชีพประเภทเดียวกันทั้งหมด ที่เรียกว่า…

“มนุษย์เงินเดือน”
(ยกเว้นเจ้าเด็กคนนั้นจะตอบว่าอยากเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัวนะครับ ^^)

ทีนี้พอเราเติบโตขึ้น โลกแห่งความจริงมันไม่ได้สวยงามขนาดนั้น ไอ้ตั้มที่วัยเด็กเคยฝันอยากจะเป็นทหาร ตอนนี้กลับกลายเป็นพนักงานส่งเอกสาร ส่วนไอ้เอกที่อยากจะเป็นตำรวจ ตอนนี้กลายเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีซะงั้น แต่ยังไงก็ตามเราก็ยังไม่หลุดพ้นกับวังวนของอาชีพที่เรียกว่า “มนุษย์เงินเดือน” อยู่ดี

ทันทีที่คุณมีเงินเดือน หรือเรียกเป็นภาษาทางการว่า “รายได้” สิ่งที่เป็นเหมือนเงาที่ติดตามเรามาก็คือ “ภาษี” ซึ่งหลายๆ คนพอได้ยินคำว่ารายได้ ก็รู้สึกเบิกบานใจที่รายได้ หรือ “เงินเดือน” ของเรามีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี แต่ก็ต้องหดหู่ทุกครั้งที่ได้ยินว่าเราต้อง “เสียภาษี” เพิ่มขึ้นทุกๆ ปีด้วยเช่นกัน และบางคนยิ่งหน้างอไปกว่านั้นเมื่อหันไปดูในบัญชีธนาคารของตัวเองแล้วก็พบว่ายังไม่มี “เงินออม” เหลือสักบาท

ปัญหาทั้งหมดนั้นคือ แรงบันดาลใจของผมในการเขียนบทความลง “บล็อกภาษีข้างถนน” ภายใต้ชื่อบทความชุด “ว่าด้วยการออม การวางแผนภาษี และมนุษย์เงินเดือน” เป็นบทความรวมทั้งสิ้น 15 ตอน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งในบล็อกและ Comment ผ่านทางหน้า Facebook Page

เมื่อจบบทความชุดนั้นลง ผมเลยตัดสินใจที่จะรวบรวมเพื่อตีพิมพ์เป็นหนังสือโดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มความสะดวกให้กับท่านที่ยังไม่เคยอ่าน หรือผู้อ่านที่อยากจะรวบรวมเนื้อหาทั้งหมดเก็บไว้ในเล่มเดียวกันและได้เพิ่มเติมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเข้าไปอีกเล็กน้อย รวมถึงแก้ไขข้อผิดพลาดที่ซ้ำซ้อนออกไป จนกลายมาเป็นหนังสือที่อยู่ในมือผู้อ่านทุกท่านครับ

สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณคุณต่อทอง ทองหล่อ บรรณาธิการ และคุณพงศ์มนัส บุศยประทีป บรรณาธิการเล่ม ที่ช่วยตรวจสอบแก้ไขเนื้อหาหนังสือเล่มนี้ รวมถึงทีมงานของสำนักพิมพ์ ThinkBeyond ทุกๆ ท่าน ที่ทำให้บทความออกมาเป็นรูปเล่มได้โดยสมบูรณ์ครับ

TaxBugnoms
http://tax.bugnoms.com
www.facebook.com/TaxBugnoms

สารบัญในเล่ม

บทนำ : รู้จักกับมนุษย์เงินเดือน
• ความจริงที่คุณยังไม่รู้
• คุณ คือ “แหล่งเงินได้ชั้นดีของรัฐ”

บทที่ 1 เงินได้พึงประเมิน
• รู้จักกับ “เงินได้พึงประเมิน”
• เงินเดือน คือ เงินได้พึงประเมิน
• เงินได้พึงประเมินไม่ได้รวมแค่เงิน...
• แล้วรายได้ของเรามีอะไรบ้าง
• มีรายได้ก็ต้องมี “ค่าใช้จ่าย”

บทที่ 2 วิธีการคำนวณภาษี และการลดเงินได้สุทธิ
• ลดรายได้ 
• เพิ่มค่าใช้จ่าย
• บริจาคลดภาษี
• ยังมีวิธีอะไรอีกบ้าง...

บทที่ 3 มารู้จัก “ค่าลดหย่อน” กัน
• ประเภทของค่าลดหย่อน

บทที่ 4 ออมเงินกันบ้างนะจ๊ะ
• เรื่องราวของคนที่ไม่รู้จักออม
• การวางแผนภาษีและการออมเงิน

บทที่ 5 ระบบการออมภาคบังคับ
• ประกันสังคม
• เงินแค่ 9,000 บาท
• กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

บทที่ 6 กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
• LTF คืออะไร
• LTF มีกี่แบบ และมีผลตอบแทนอะไรบ้าง
• สิทธิประโยชน์ในการประหยัดภาษีของ LTF
• ถ้าทำผิดเงื่อนไข จะทำยังไงดี?
• เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ LTF
• วิธีการลงทุนของผม

บทที่ 7 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF
• RMF คืออะไร
• ใครที่ควรจะลงทุนใน RMF บ้าง
• RMF มีกี่แบบ และมีผลตอบแทนอะไรให้บ้าง
• สิทธิประโยชน์ในการประหยัดภาษีของ RMF
• ตัวอย่างการซื้อ RMF
• ถ้าทำผิดเงื่อนไข จะทำยังไงดี?
• ปัญหาในการลงทุน RMF
• ความแตกต่างในการลงทุน LTF และ RMF
• RMF มีผลประโยชน์และความเสี่ยงแค่ไหน
• สับเปลี่ยนกองทุนดีไหม

บทที่ 8 ประกันชีวิต
• ประกันชีวิต คืออะไร
• ประกันชีวิตแบบไหนที่ช่วยให้เราประหยัดภาษี
• ประกันชีวิตแบบบำนาญ
• วิธีคำนวณและตัวอย่างการใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิต
• เราควรทำประกันชีวิตหรือไม่

บทที่ 9 เคล็ดลับลดภาษีสำหรับคนเล่นหุ้น
• กำไรจากการขายหรือโอนหุ้น (Capital Gain)
• รายได้เงินปันผล (Dividend)
• เครดิตภาษีเงินปันผล

บทที่ 10 มาหยุดจ่ายภาษีกัน

บทที่ 11 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้กันดีกว่า
• ประเภทของแบบ ภ.ง.ด.
• วิธีการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
• ชำระภาษี VS ขอคืนภาษี
• เคล็ดลับ 5 ข้อในการขอคืนภาษี
• ไม่เสียภาษีมีความผิดไหม?

บทสรุป
• เริ่มต้นจาก “รายได้”
• ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนพื้นฐานที่ควรรู้
• ค่าลดหย่อนที่เป็นการ “ออมเงิน”
• อย่าลืมกรอกรายการ “แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน”
• คอยทบทวนและแก้ไขเสมอๆ 
• ส่งท้ายกันหน่อย