คลื่น : The Impermanence of Life

เรื่องสั้นนามว่า คลื่น : The Impermanence of Life เป็นเรื่องราวสะท้อนสังคมปัจจุบันที่ทรงคุณค่าแก่สังคม

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับวงการนักการเมือง วงการสีกากี มิตรภาพ ความรัก ค่านิยมการมีสามีเป็นฝรั่ง เพศที่สาม ฯลฯ ทั้ง 9 เรื่องที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้อ่านเข้าใจยาก แต่จะลึกซึ้งในแง่ของการตีความ และความละเมียดละไมของภาษาที่สะท้อนหลักอนิจจังของพุทธศาสนา คือ ความไม่เที่ยงจีรังของชีวิต ได้อย่างลงตัว สมดุล มีเอกภาพ

เรื่องราวเหล่านี้ถูกประพันธ์ขึ้นมาจาก วิชาญ อัยรักษ์ นักเขียนผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินดีเด่นจังหวัดพังงา สาขาวรรณกรรม (เรื่องสั้น) จากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ปี 2543 และยังได้รับรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ครั้งที่ 7 ประเภทเรื่องสั้นอีกด้วย

คำนิยม ๑

คลื่น : The Impermanence of Life ถือเป็นอีกผลงานของ อาจารย์วิชาญ ที่ได้นำเอาเรื่องราวของ 9 ชีวิตที่ต้องสูญเสียไป ขณะเกิดเหตุการณ์สึนามิ ซึ่งแต่ละคนล้วนต่างเพศ ต่างวัย ต่างเชื้อชาติ แต่ต้องมาจบชีวิตในเหตุการณ์เดียวกัน ด้วยการผูกเรื่องราวน่าติดตาม  เพื่อบอกให้ผู้อ่านได้ทราบถึงกฎแห่งความไม่แน่นอนของชีวิต  และเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตนเป็นคนดี ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน เพราะที่สุดก็ล้วนแล้วแต่ต้องพบจุดจบ คือ “ความตาย” ไม่วันใดก็วันหนึ่ง หวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะมีส่วนให้ข้อคิดให้ผู้อ่านทุกท่านสามารถฟันฝ่า “คลื่นแห่งชีวิต” ไปสู่การดำรงตน บนเส้นทางแห่งความไม่ประมาทตลอดไป

                                                    จุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์
                                         รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข            

คำนิยม ๒

เป็นความฉลาดของผู้เขียนที่หยิบยกเอาวิถีชีวิตของผู้คนส่วนหนึ่งทั้ง 6 จังหวัดที่สูญเสียจากภัยพิบัติสึนามิครั้งนั้นมาบันทึกเป็นเรื่องราว นำเสนอในรูปแบบเรื่องสั้นได้อย่างเหมาะสมและมีศิลปะแห่งงานประพันธ์เป็นอย่างดีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านคงได้อรรถรสจากแนวคิด และคติธรรมที่ผู้เขียนบรรจุไว้ในแต่ละเรื่องนั้นมาเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต

                                                               นายวิชัย  ไพรสงบ 
                                                        ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

คำนิยม ๓

จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า คลื่น : The impermanence of life น่าอ่านน่าสนใจมากเพราะผู้เขียนได้นำวิถีชีวิตของผู้คนที่ต้องสูญเสียจากคลื่นยักษ์สึนามิ มาเรียบเรียงแนวเรื่องสั้น ที่ให้คติธรรมหลายประการ เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความรักเพื่อน รักครอบครัว ตลอดจนข้อคิดทางการเมือง ได้อย่างลงตัว ผมขอเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนสร้างผลงานที่มีคุณค่านี้ต่อไปเรื่อยๆ และขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน สำนักพิมพ์ธิงค์ บียอนด์ ธรรมะ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ที่มีส่วนทำให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีอย่างเต็มภาคภูมิ

                                                                     นายดุสิต มายะการ
                                     ประธานผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานภาค ๘